ความหมายของหลักการ แนวคิด ทฤษฎี
หลักการ (Principle)
ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 หมาย ถึงสาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติแนวคิด (Concept) ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ2542 หมายถึง
ความคิดที่มีแนวทางปฏิบัติทฤษฎี (Theory) หมายถึง
สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลาย หนจนสามารถอธิบายข้อ
เท็จจริง
สามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆไปที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง
และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎีหลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ
การออกแบบ จะใช้หลักการ
แนวคิดและทฤษฎีของการเรียนรู้ ได้แก่
1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ของ พาลอฟ (Pavlov) ซึ่งกล่าวไว้ว่า
ปฎิกิริยาตอบสนองอย่างใด
อย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการ ตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
2.ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism
Theory) ของ ธอนไดค์ (Thorndike) เน้นความสัมพันธ์
เชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งผล (Low of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Lowe of
Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Low of
Readiness)
3.ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R
Theory หรือ Operant Conditioning) ของสกินเนอร์
(Skinner) ในสภาพแวดล้อมมีสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้กระทำแสดงพฤติกรรมออกมา
ซึ่ง พฤติกรรมนั้น จะมีผลกรรมตามมาซึ่ง อาจเป็นผลกรรมที่เพิ่มขึ้น คงที่
หรือลดลง ขึ้นอยู่กับเป็นผลกรรมที่พึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยมจะนำมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้
โดยสอนให้เข้ากับลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
4.ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Differences Theory) ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง
(Stimulus-Response) หรือทฤษฎี เอส-อาร์ (S-R theory)
ของกาเย่(Gagne)และนำมาประยุกต์ใช้ (Defleur,
1966) อธิบายว่า บุคคลมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น บุคลิกภาพ
ทัศนคติ สติปัญญา และความสนใจ เป็นต้น
ความแตกต่างนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้มีพฤติกรรมการสื่อสารและการ
เลือกเปิดรับสารที่แตกต่างกัน ได้แก่
1) มนุษย์เรามีความแตกต่างกันมากในองค์ประกอบทางจิตวิทยาส่วนบุคคล
2) ความแตกต่างนี้บางส่วนมาจากลักษณะแตกต่างทางชีวภาค
หรือทางร่างกายของแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความแตกต่างที่เกิดจากการเรียนรู้
3) มนุษย์ซึ่งถูกชุบเลี้ยงภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ
จะเปิดรับความคิดเห็นแตกต่างกันไป
4) การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดทัศนคติ ค่านิยม
และความเชื่อที่รวมเป็นลักษณะทางจิตวิทยาส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไป
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
1.ทฤษฎีการรับรู้
การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory
motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง
5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
จากการวิจัยมีการค้นพบว่า การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75% จากการได้ยิน
13% การสัมผัส 6% กลิ่น 3%
และรส 3% การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่
ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้k นักจิตวิทยากลุ่มความรู้
(Cognitive) เน้นความสำคัญของส่วนรวม ดัง
นั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน
โดยเน้นเรียนจากประสบการณ์ (Perceptual experience) ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า Cognitive Field Theory หรือ ทฤษฎีสนาม แนวคิดของทฤษฎีนี้ จะเน้นความ พอใจของผู้เรียน
ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำงานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบ
ความสำเร็จ การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตัวเขาเอง
ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ การนำแนวคิดของนักจิตวิทยา กลุ่มความรู้ (Cognition)
มาใช้คือ การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัส
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ เรียนรู้ จึงเป็นแนวคิดในการเกิดการเรียนการสอนผ่านสื่อที่เรียกว่า
โสตทัศนศึกษา (Audio Visual)
2.ทฤษฎีการสื่อสาร
การสื่อสาร (communication ) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน
หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบคือ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ
ผู้รับสาร
3.ทฤษฎีvisual thinking การคิดให้เห็นภาพ
4. ทฤษฎี Aesthetics (สุนทรียศาสตร์)
คือ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม การตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ คือ
การที่เราใช้จิตแสดงปฏิกิริยาต่อสภาพการณ์ในสิ่งแวดล้อม หรือการที่จิตประเมินค่าวัตถุที่มีคุณค่า
ที่เร้าให้เกิดความรู้สึกภายในจิตใจ แม้ว่าความงามจะขึ้นอยู่กับจิต
แต่ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกตามใจชอบ
หากแต่ต้องขึ้นอยู่กับคุณค่าที่มีอยู่ในวัตถุนั้น ๆ ด้วย
มุมมองทางความคิดของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน หลากหลายออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น
ๆ ว่าใช้อะไรเป็นหลักในการตัดสินสิ่งต่างๆ
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการนำไปใช้
1. ทฤษฎีระบบ
2.ทฤษฎีการพัฒนาองค์การ (Organization
Development)
การพัฒนาองค์การมีหลักสำคัญคือ
เป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน ขั้นตอนในกระบวนการเปลี่ยนแปลงได้แก่
1.พิจารณาหาสาเหตุของปัญหาในองค์การ
2.วางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอน
3.ดำเนินการตามขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง
4.ติดตามและประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์การ
3.ทฤษฎีการเผยแพร่
การเผยแพร่ (diffusion) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย
ทฤษฎีการเผยแพร่เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่
แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมในศาสตร์นั้นๆ
ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษฎีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆ
นำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการจัดการ
1. ทฤษฎีการจัดการ (General Management) ของ Henri Fayol
Fayol มีความเชื่อว่า
เป็นไปได้ที่เราจะหาทางศึกษาถึงศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบริหาร (Administrative
sceinces) ซึ่งสามารถใช้ได้กับการบริหารทุกชนิด
ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานอุตสาหกรรมหรืองานรัฐบาล Fayol ได้สรุปสาระสำคัญของกระบวนการจัดการงานว่า
ประกอบด้วยหน้าที่ (functions) ทางการจัดการ 5 ประการ คือ
1.การวางแผน (Planning) หมายถึง
ภาระหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องทำการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจ
และกำหนดขึ้นเป็นแผนการปฏิบัติงานหรือวิถีทางที่จะปฏิบัติเอาไว้
เพื่อสำหรับเป็นแนวทางของการทำงานในอนาคต
2.การจัดองค์การ (Organizing) หมายถึง
ภาระหน้าที่ที่ผู้บริหารจำต้องจัดให้มีโครงสร้างของงานต่าง ๆ และอำนาจหน้าที่
ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องจักร สิ่งของและตัวคน อยู่ในส่วนประกอบที่เหมาะสม
ในอันที่จะช่วยให้งานขององค์การบรรลุผลสำเร็จได้
3.การบังคับบัญชาสั่งการ (Commanding) หมายถึง หน้าที่ในการสั่งงานต่าง ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชา
ซึ่งกระทำให้สำเร็จผลด้วยดี โดยที่ผู้บริหารจะต้องกระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี
จะต้องเข้าใจคนงานของตน
4.การประสานงาน (Coordinating) หมายถึง
ภาระหน้าที่ที่จะต้องเชื่อมโยงงานของทุกคนให้เข้ากันได้
และกำกับให้ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน
5.การควบคุม (Controlling) หมายถึง
ภาระหน้าที่ในการที่จะต้องกำกับให้สามารถประกันได้ว่ากิจกรรมต่าง ๆ
ที่ทำไปนั้นสามารถเข้ากันได้กับแผนที่ได้วางไว้แล้ว
2.ทฤษฎีการสื่อสาร
3.การจัดการสารสนเทศ เพื่อจัดข้อมูลให้เป็นระบบ ได้แก่
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
2. การตรวจสอบข้อมูล เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้ว
จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูล ดูแลเรื่องความถูก ต้อง
มีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
ข้อมูลที่จัดเก็บต้องมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ
3. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลที่เก็บไว้ให้เป็นแฟ้มข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ตอนหนึ่ง
เพื่อให้การดำเนินการในขั้นต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
4. การจัดเรียงข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหา
หรืออ้างอิงในภายหลัง
5. การคำนวณ
ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ข้อความ และตัวเลข
ดังนั้นอาจมีความจำเป็น ในการคำนวณตัวเลขที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย
หาผลรวม
6. การทำรายงาน
การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศ มีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น
7. การจัดเก็บ ข้อมูลที่สำรวจหรือรวบรวมมา
และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จะต้องดำเนินการ
จัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้งานในภายหลัง
8. การทำสำเนา
หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นมาใหม่ได้
9. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล
เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่าย ได้โดยง่าย
เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการประเมิน
1. ทฤษฎีการเรียนรู้
2. การวัดและประเมิน (Measurement)
การประเมินเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ โดย
อาศัยเกณฑ์ที่เชื่อถือได้
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.หลักการและทฤษฎี ทางจิตวิทยาการศึกษา
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov,
Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี
เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response
Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าว ไว้ว่า
ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง
ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้
ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่ง
กล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง
จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
แนวคิดของธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน
ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5
ประการ
ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการคือ
1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ
ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม
และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้าง ความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขา ไว้ 5 ประการคือ
1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ
ด้วยตนเอง (Self – Activity)
2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ
(Interest Motivation)
3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ
(Preparation and Mentalset)
4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม
(Socialization)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R
Theory หรือ Operant Conditioning)เจ้าของทฤษฎีนี้คือ
สกินเนอร์ (Skinner) กล่าว ว่า
ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ
ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้
ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องแนวคิดของสกินเนอร์
นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะ
ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
2.หลักการและทฤษฎี
เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ
สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน
เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ
ของผู้เรียน
2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept) ส่วนบุคคล ช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน
การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน
ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน
ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี
ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา
ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ
และมีความหมายตามความสามารถของเขา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ
ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่ สุด
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ
จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำ
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน
อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ
ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล
สื่อที่มีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ ความต้องการ ที่สัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
9.การถ่ายโยงที่ดี
โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง
อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ
เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น
ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที
หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
แนวคิดของบูเกสสกี (Bugelski) ได้
สนับสนุนว่า การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน
ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน หากแต่ผู้สอนเป็นเพียงผู้เตรียมสถานการณ์และจัดระเบียบประสบการณ์ที่ทันสมัย
ไว้ให้ เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวก ซึ่งหมายถึงว่า
เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน
3.ทฤษฎีการรับรู้
เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้น
ก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้
ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น
การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด
ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อ
การสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด
แนวคิดของรศ.ดร.สาโรช โศภี
ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการรับรู้ว่าการรับรู้เป็นผลเนื่องมาจากการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส
(Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory)
ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล
หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า
แนวคิดของ ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์ และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ
มหาสารคาม กล่าวว่า
การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยน
แปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์
การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้
โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพและ
ทัศนคติ ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง
ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับรู้
แนวคิดของ Fleming ให้ข้อเสนอแนะว่ากระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย
มีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้อง
รู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ
1.โดย ทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล
เหตุการณ์ หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน
2. การเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด
เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด
เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็น จริง
3.เมื่อ
มีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญ
ที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร
จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความ มุ่งหมาย
แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยา
ในบทก่อนหน้าผู้เรียบเรียงได้กล่าวถึงลักษณะของวิชามานุษยวิทยาว่าเป็นแขนงวิชาที่มีการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาสาระกว้างมากสำหรับอีกสาขาหนึ่งของการศึกษาในหมวดสังคมศาสตร์
ในส่วนนี้ผู้เรียบเรียงจะนำเสนอต่อไปถึงทฤษฏีแนวคิดทางมานุษยวิทยาที่สำคัญสำหรับใช้เป็นแนวทางในการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาได้มากมาย
แต่ในที่นี้จะนำเสนอเพียง 8 ทฤษฎีสำคัญเท่านั้น ได้แก่
ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ (Structural Functional
Theory)
นักมานุษยวิทยาที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R.
Radcliffe-Brown) นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ และ โบรนิสลอร์
มาลิเนาสกี (Bronislaw Malinowski) ให้ความเห็นว่า “การจะเข้าใจระบบเศรษฐกิจนั้นจะต้องเข้าใจถึงโครงสร้างสังคมก่อนและระบบเศรษฐกิจเป็นผลที่เกิดจากโครงสร้างสังคม”
แนวคิดนี้เชื่อว่า “สังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นและก้าวหน้าขึ้น
การศึกษาสังคมตามแนวคิดนี้มักจะให้ภาพนิ่งมากกว่าภาพที่เคลื่อนไหว
สำหรับในเรื่องความเป็นปึกแผ่นทางสังคม (Social Solidarity) จะทำให้มองภาพความขัดแย้งหรือเสียระเบียบทางสังคมว่าเป็นพยาธิสภาพทางสังคม
(Social Pathological) และจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้สังคมมีความเป็นระเบียบมากขึ้น”
เนื่องจากนักทฤษฎีในแนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก เอมีล
เดอร์คามส์ (Emile Durkheim) ผู้ซึ่งเน้นงานเขียนเกี่ยวกับวัฒนธรรม
ศาสนา ให้ความสำคัญกับจิตใจเหนือวัตถุ (มนตรี กรรพุมมาลย์ 2539) งานส่วนใหญ่ของบราวน์
และนักคิดคนอื่นๆในสายเดียวกันจะเน้นศึกษาระบบเครือญาติโดยใช้ข้อมูลชาติพันธุ์วรรณา
(Ethnography) แสดงความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างคนที่มีความผูกพันทางสังคมแต่ขัดแย้งกันในความสัมพันธ์
มีการยอมรับความขัดแย้งและจัดการอย่างเป็นทางการจนทำให้ช่วยลดความขัดแย้งได้และสังคมก็จะดำรงอยู่ต่อไปได้ในที่สุด
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
การพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพ ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง อุตสาหกรรม นั้น
จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายดังนี้
1 ขยายขอบเขตของทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ
ให้กว้างขวางออกไป โดยคำนึงถึง
1) คน กำหนดให้คนเป็นแหล่งทรัพยากรเรียนรู้ที่สำคัญ
เช่น ครู ตำรวจ เกษตรกร
2) วัสดุเครื่องมือ ประเภทโสตทัศนูปกรณ์
รวมทั้งการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาให้มากขึ้น
3) เทคนิคการสอน
ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
4) สถานที่ต่าง ๆ
ให้สามารถเป็นแหล่งประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ไร่นา ทะเล องค์การ
รัฐบาล
เน้นการเรียนแบบเอกัตบุคคล
โดยการจัดหาสื่อเพื่อสนองความต้องการ และ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
การนำวิธีวิเคราะห์ระบบการศึกษา
โดยใช้การปฏิบัติหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมาใช้ในการเรียนการสอน
เป้าหมายของนโยบาย
1. เป้าหมายโดยรวมใน 10 ปีข้างหน้า
ของนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศยึดถือการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
ซึ่งถือการชี้วัดโดยใช้ดัชนีผลสัมฤทธิ์ทางเทคโนโลยี (technology
achievement index) ของกองทุนเพื่อสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
(UNDP) เป็นเกณฑ์ โดยสหประชาติได้แบ่งกลุ่มประเทศต่าง ๆ ออกเป็น
4 กลุ่ม
เรียงตามลำดับความสามารถในการพัฒนาประเทศโดยใช้เทคโนโลยี
หรืออีกนัยหนึ่งการพัฒนาบนฐานความรู้ กล่าวคือ
- กลุ่มผู้นำ (leaders) ซึ่งส่วนใหญ่
เป็นประเทศมหาอำนาจแลประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของตนเอง
มีผลงานในการสร้าง การกระจาย และทักษะที่ดีทางเทคโนโลยี
- กลุ่มที่มีศักยภาพเป็นผู้นำ (potential
leaders) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าและกำลังพัฒนาศักยภาพผู้นำในอนาคต
ส่วนใหญ่มีการลงทุนในการพัฒนาทักษะกำลังคน
และมีการกระจายเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วอย่างกว้างขวาง แต่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ไม่มากนัก
ประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ มีทักษะแรงงานใกล้เคียงกับกลุ่มผู้นำ
- กลุ่มผู้ตามที่มีพลวัต (dynamic adopters) เป็นกลุ่มประเทศที่มีความแข็งขันในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
แม้จะมีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง
แต่การแพร่กระจายเทคโนโลยีเก่าก็ยังช้าและไม่สมบูรณ์
- กลุ่มด้อยศักยภาพ (marginalized) ประกอบด้วยประเทศซึ่งยังต้องกระจายเทคโนโลยีและพัฒนาฝีมือแรงงานอีกมาก
ประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากเทคโนโลยีเก่าเท่าใดนักในปี พ.ศ. 2544
ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 40 จาก 72 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับ และจัดอยู่ในประเทศต้น ๆ ของกลุ่มประเทศที่ 3
หรือกลุ่มตามที่มีพลวัตในอีก 10 ปีข้างหน้า
คือในปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยจะมีพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อนำสังคมไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้เพียงพอที่จะทำให้ประเทศไทยอยู่ในลำดับต้น
ๆ ของกลุ่มที่สอง หรือกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นำนั่นเอง
2. สำหรับเป้าหมายของนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศประการที่สอง
คือ การพัฒนาแรงงานความรู้
ซึ่งปัจจุบันการประมวลสถิติโดยใช้เกณฑ์ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International
Labour Organization : ILO) ที่จัดประเภทแรงงานความรู้ตามลักษณะของสายอาชีพ
บุคลากรกลุ่มนี้ใช้ความรู้ในการทำงานเป็นหลัก หรือต้องใช้ความรู้เฉพาะ
ซึ่งพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีแรงงานความรู้ในสัดส่วนร้อยละ 30 ของแรงงานทั้งหมดขึ้นไป ในขณะที่ประเทศแถบละตินอเมริกาและเอเชีย
กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนามีสัดส่วนของแรงงานความรู้ระหว่างร้อยละ 10 -20 ของแรงงานทั้งหมดในปี พ.ศ. 2544 ประเทศไทยมีแรงงานความรู้ประมาณร้อยละ
12 ของแรงงานทั้งหมด
เป้าหมายของนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ในปี
พ.ศ. 2553 คือมีจำนวนแรงงานความรู้ร้อยละ 30 ของแรงงานในประเทศทั้งหมด ซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยของจำนวนแรงงานความรู้ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
(OECD) ในปี พ.ศ. 2544
3. เป้าหมายที่สามของนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศพิจารณาจากปริมาณกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้เป็นพื้นฐานที่เรียกว่า knowledge
-based industries หรือ knowledge - intensive industries องค์กรความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือ OECD ได้จัดประเภทของอุตสาหกรรมบนพื้นฐานแห่งความรู้ให้รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับกลางค่อนไปทางสูง การให้บริการชุมชน สังคม และส่วนบุคคล
การให้บริการทางการเงินและธุรกิจ รวมทั้งการให้บริการด้านสื่อสาร
ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถนำมาคำนวณหาสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) บัญชีประชาชาติ และตาราง input และ output ระดับประเทศได้จากนิยามดังกล่าว OECD พบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจแห่งภูมิปัญญา
และการเรียนรู้ในปี พ.ศ. 2553 คือ
มีสัดส่วนของอุตสาหกรรมบนฐานความรู้ร้อยละ 50 ของ GDP
ซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยของ OECD ในปีปัจจุบันอย่างไรก็ตาม
การตั้งเป้าหมายทั้งสามประการเป็นการชี้วัดเชิงเปรียบเทียบในระดับมหภาค
ปัจจัยและตัวแปรในรายละเอียดอาจต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพและความต้องการในการพัฒนาที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยเองโดยยึดถือเป้าหมายและขบวนการพัฒนาที่เป็นจริง
และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม