.....ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของ นางสาว ปนัดดา มั่นคง ค่ะ.....

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ความหมายของหลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี

          หลักการ (Principle)  ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 หมาย ถึงสาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติแนวคิด (Concept) ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ2542 หมายถึง ความคิดที่มีแนวทางปฏิบัติทฤษฎี (Theory) หมายถึง สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลาย   หนจนสามารถอธิบายข้อ เท็จจริง สามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆไปที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎีหลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ



การออกแบบ จะใช้หลักการ แนวคิดและทฤษฎีของการเรียนรู้ ได้แก่

        1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ของ พาลอฟ (Pavlov) ซึ่งกล่าวไว้ว่า ปฎิกิริยาตอบสนองอย่างใด    อย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการ    ตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม

      2.ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ของ ธอนไดค์ (Thorndike) เน้นความสัมพันธ์ เชื่อมโยง   ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ

                 1. กฎแห่งผล (Low of Effect)

                 2. กฎแห่งการฝึกหัด (Lowe of Exercise)

                 3. กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness)

         3.ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning) ของสกินเนอร์ (Skinner) ในสภาพแวดล้อมมีสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้กระทำแสดงพฤติกรรมออกมา ซึ่ง พฤติกรรมนั้น  จะมีผลกรรมตามมาซึ่ง อาจเป็นผลกรรมที่เพิ่มขึ้น คงที่ หรือลดลง ขึ้นอยู่กับเป็นผลกรรมที่พึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยมจะนำมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ โดยสอนให้เข้ากับลักษณะ ดังต่อไปนี้

                1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)

                2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)

                3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)

                4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)

        4.ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences Theory) ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimulus-Response) หรือทฤษฎี เอส-อาร์ (S-R theory) ของกาเย่(Gagne)และนำมาประยุกต์ใช้ (Defleur, 1966) อธิบายว่า บุคคลมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ สติปัญญา และความสนใจ เป็นต้น

          ความแตกต่างนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้มีพฤติกรรมการสื่อสารและการ  เลือกเปิดรับสารที่แตกต่างกัน ได้แก่ 

         1) มนุษย์เรามีความแตกต่างกันมากในองค์ประกอบทางจิตวิทยาส่วนบุคคล

         2) ความแตกต่างนี้บางส่วนมาจากลักษณะแตกต่างทางชีวภาค หรือทางร่างกายของแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความแตกต่างที่เกิดจากการเรียนรู้

        3) มนุษย์ซึ่งถูกชุบเลี้ยงภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ จะเปิดรับความคิดเห็นแตกต่างกันไป

        4) การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อที่รวมเป็นลักษณะทางจิตวิทยาส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไป 


หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา

       1.ทฤษฎีการรับรู้

การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด     คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง   จากการวิจัยมีการค้นพบว่า การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75% จากการได้ยิน 13%    การสัมผัส 6% กลิ่น 3% และรส 3% การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้  ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้k   นักจิตวิทยากลุ่มความรู้ (Cognitive) เน้นความสำคัญของส่วนรวม ดัง   นั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน โดยเน้นเรียนจากประสบการณ์ (Perceptual  experience)  ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า Cognitive Field Theory หรือ ทฤษฎีสนาม แนวคิดของทฤษฎีนี้ จะเน้นความ พอใจของผู้เรียน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำงานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบ ความสำเร็จ  การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตัวเขาเอง ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ     การนำแนวคิดของนักจิตวิทยา กลุ่มความรู้ (Cognition) มาใช้คือ การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัส เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ เรียนรู้ จึงเป็นแนวคิดในการเกิดการเรียนการสอนผ่านสื่อที่เรียกว่า โสตทัศนศึกษา (Audio Visual)

        2.ทฤษฎีการสื่อสาร

การสื่อสาร (communication ) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบคือ ผู้ส่งสาร  สาร  สื่อ  ผู้รับสาร

       3.ทฤษฎีvisual thinking การคิดให้เห็นภาพ

       4. ทฤษฎี Aesthetics  (สุนทรียศาสตร์) 

คือ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม  การตัดสินทางสุนทรียศาสตร์ คือ การที่เราใช้จิตแสดงปฏิกิริยาต่อสภาพการณ์ในสิ่งแวดล้อม หรือการที่จิตประเมินค่าวัตถุที่มีคุณค่า ที่เร้าให้เกิดความรู้สึกภายในจิตใจ แม้ว่าความงามจะขึ้นอยู่กับจิต แต่ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกตามใจชอบ หากแต่ต้องขึ้นอยู่กับคุณค่าที่มีอยู่ในวัตถุนั้น ๆ ด้วย มุมมองทางความคิดของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน หลากหลายออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น ๆ ว่าใช้อะไรเป็นหลักในการตัดสินสิ่งต่างๆ


หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการนำไปใช้

      1. ทฤษฎีระบบ

      2.ทฤษฎีการพัฒนาองค์การ (Organization Development)

การพัฒนาองค์การมีหลักสำคัญคือ เป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน ขั้นตอนในกระบวนการเปลี่ยนแปลงได้แก่

     1.พิจารณาหาสาเหตุของปัญหาในองค์การ

     2.วางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอน

     3.ดำเนินการตามขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง

     4.ติดตามและประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์การ

     3.ทฤษฎีการเผยแพร่

            การเผยแพร่ (diffusion) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย ทฤษฎีการเผยแพร่เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมในศาสตร์นั้นๆ  ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษฎีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆ นำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น



หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการจัดการ

       1. ทฤษฎีการจัดการ (General Management) ของ Henri Fayol

Fayol มีความเชื่อว่า เป็นไปได้ที่เราจะหาทางศึกษาถึงศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบริหาร (Administrative sceinces) ซึ่งสามารถใช้ได้กับการบริหารทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานอุตสาหกรรมหรืองานรัฐบาล Fayol ได้สรุปสาระสำคัญของกระบวนการจัดการงานว่า ประกอบด้วยหน้าที่ (functions) ทางการจัดการ 5 ประการ คือ

                 1.การวางแผน (Planning) หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องทำการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจ และกำหนดขึ้นเป็นแผนการปฏิบัติงานหรือวิถีทางที่จะปฏิบัติเอาไว้ เพื่อสำหรับเป็นแนวทางของการทำงานในอนาคต

                   2.การจัดองค์การ (Organizing) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่ผู้บริหารจำต้องจัดให้มีโครงสร้างของงานต่าง ๆ และอำนาจหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องจักร สิ่งของและตัวคน อยู่ในส่วนประกอบที่เหมาะสม ในอันที่จะช่วยให้งานขององค์การบรรลุผลสำเร็จได้

                       3.การบังคับบัญชาสั่งการ (Commanding) หมายถึง หน้าที่ในการสั่งงานต่าง ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งกระทำให้สำเร็จผลด้วยดี โดยที่ผู้บริหารจะต้องกระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี จะต้องเข้าใจคนงานของตน

                         4.การประสานงาน (Coordinating) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่จะต้องเชื่อมโยงงานของทุกคนให้เข้ากันได้ และกำกับให้ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน

                        5.การควบคุม (Controlling) หมายถึง ภาระหน้าที่ในการที่จะต้องกำกับให้สามารถประกันได้ว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำไปนั้นสามารถเข้ากันได้กับแผนที่ได้วางไว้แล้ว

      2.ทฤษฎีการสื่อสาร

      3.การจัดการสารสนเทศ เพื่อจัดข้อมูลให้เป็นระบบ ได้แก่

              1. การเก็บรวบรวมข้อมูล 

              2. การตรวจสอบข้อมูล เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูล ดูแลเรื่องความถูก  ต้อง มีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ข้อมูลที่จัดเก็บต้องมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ

             3. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การรวบรวมข้อมูลที่เก็บไว้ให้เป็นแฟ้มข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ตอนหนึ่ง เพื่อให้การดำเนินการในขั้นต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

            4. การจัดเรียงข้อมูล ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหา หรืออ้างอิงในภายหลัง

            5. การคำนวณ ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็น ในการคำนวณตัวเลขที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม

           6. การทำรายงาน การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศ มีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น

           7. การจัดเก็บ ข้อมูลที่สำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จะต้องดำเนินการ จัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้งานในภายหลัง 

           8. การทำสำเนา หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นมาใหม่ได้

           9. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่าย ได้โดยง่าย เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการประเมิน

    1. ทฤษฎีการเรียนรู้

    2. การวัดและประเมิน (Measurement) การประเมินเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ โดย    อาศัยเกณฑ์ที่เชื่อถือได้

 

หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

1.หลักการและทฤษฎี ทางจิตวิทยาการศึกษา

ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม 

นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าว ไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม

ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่ง กล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ

1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)

2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)

3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)

แนวคิดของธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ  

ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการคือ

 1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน

 2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้าง ความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้

หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขา ไว้ 5 ประการคือ

      1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)

      2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)

      3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)

      4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)

      5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)

 

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning)เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าว ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องแนวคิดของสกินเนอร์   นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะ ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ

1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)

2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)

3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)

4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)

2.หลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้ 

คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ

1.หลักการจูงใจ  สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ของผู้เรียน

2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept)  ส่วนบุคคล  ช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน  การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน  ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน

3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี   ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน

4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา  ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา

5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ  ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่ สุด 

6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ  สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ  จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำ

7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน  อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ  ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน

8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อที่มีลักษณะชัดเจน  สอดคล้องกับ ความต้องการ  ที่สัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี

9.การถ่ายโยงที่ดี  โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ  จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ  เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 

10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น  ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที  หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว

แนวคิดของบูเกสสกี (Bugelski)  ได้ สนับสนุนว่า การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน หากแต่ผู้สอนเป็นเพียงผู้เตรียมสถานการณ์และจัดระเบียบประสบการณ์ที่ทันสมัย ไว้ให้  เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวก ซึ่งหมายถึงว่า  เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน

3.ทฤษฎีการรับรู้ 

เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้น ก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อ การสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด

แนวคิดของรศ.ดร.สาโรช โศภี  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการรับรู้ว่าการรับรู้เป็นผลเนื่องมาจากการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง  การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า

แนวคิดของ ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์  และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม  กล่าวว่า การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์ การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพและ ทัศนคติ ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับรู้

แนวคิดของ Fleming  ให้ข้อเสนอแนะว่ากระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย มีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้อง รู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ

1.โดย ทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน

2. การเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็น จริง

3.เมื่อ มีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความ มุ่งหมาย

แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยา

ในบทก่อนหน้าผู้เรียบเรียงได้กล่าวถึงลักษณะของวิชามานุษยวิทยาว่าเป็นแขนงวิชาที่มีการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาสาระกว้างมากสำหรับอีกสาขาหนึ่งของการศึกษาในหมวดสังคมศาสตร์ ในส่วนนี้ผู้เรียบเรียงจะนำเสนอต่อไปถึงทฤษฏีแนวคิดทางมานุษยวิทยาที่สำคัญสำหรับใช้เป็นแนวทางในการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาได้มากมาย แต่ในที่นี้จะนำเสนอเพียง 8 ทฤษฎีสำคัญเท่านั้น ได้แก่ 

ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ (Structural Functional Theory) 

นักมานุษยวิทยาที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R. Radcliffe-Brown) นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ และ โบรนิสลอร์ มาลิเนาสกี (Bronislaw Malinowski) ให้ความเห็นว่า การจะเข้าใจระบบเศรษฐกิจนั้นจะต้องเข้าใจถึงโครงสร้างสังคมก่อนและระบบเศรษฐกิจเป็นผลที่เกิดจากโครงสร้างสังคมแนวคิดนี้เชื่อว่า สังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นและก้าวหน้าขึ้น การศึกษาสังคมตามแนวคิดนี้มักจะให้ภาพนิ่งมากกว่าภาพที่เคลื่อนไหว สำหรับในเรื่องความเป็นปึกแผ่นทางสังคม (Social Solidarity) จะทำให้มองภาพความขัดแย้งหรือเสียระเบียบทางสังคมว่าเป็นพยาธิสภาพทางสังคม (Social Pathological) และจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้สังคมมีความเป็นระเบียบมากขึ้นเนื่องจากนักทฤษฎีในแนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก เอมีล เดอร์คามส์ (Emile Durkheim) ผู้ซึ่งเน้นงานเขียนเกี่ยวกับวัฒนธรรม ศาสนา ให้ความสำคัญกับจิตใจเหนือวัตถุ (มนตรี กรรพุมมาลย์ 2539) งานส่วนใหญ่ของบราวน์ และนักคิดคนอื่นๆในสายเดียวกันจะเน้นศึกษาระบบเครือญาติโดยใช้ข้อมูลชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography) แสดงความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างคนที่มีความผูกพันทางสังคมแต่ขัดแย้งกันในความสัมพันธ์ มีการยอมรับความขัดแย้งและจัดการอย่างเป็นทางการจนทำให้ช่วยลดความขัดแย้งได้และสังคมก็จะดำรงอยู่ต่อไปได้ในที่สุด

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา 

การพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพ ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง อุตสาหกรรม นั้น จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายดังนี้

1  ขยายขอบเขตของทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้กว้างขวางออกไป โดยคำนึงถึง

1) คน กำหนดให้คนเป็นแหล่งทรัพยากรเรียนรู้ที่สำคัญ เช่น ครู ตำรวจ เกษตรกร

2) วัสดุเครื่องมือ ประเภทโสตทัศนูปกรณ์ รวมทั้งการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาให้มากขึ้น

3) เทคนิคการสอน ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

4) สถานที่ต่าง ๆ ให้สามารถเป็นแหล่งประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ไร่นา ทะเล องค์การ   รัฐบาล

  เน้นการเรียนแบบเอกัตบุคคล โดยการจัดหาสื่อเพื่อสนองความต้องการ และ ความแตกต่างระหว่างบุคคล

  การนำวิธีวิเคราะห์ระบบการศึกษา โดยใช้การปฏิบัติหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมาใช้ในการเรียนการสอน 

เป้าหมายของนโยบาย

1. เป้าหมายโดยรวมใน 10 ปีข้างหน้า ของนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศยึดถือการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ซึ่งถือการชี้วัดโดยใช้ดัชนีผลสัมฤทธิ์ทางเทคโนโลยี (technology achievement index) ของกองทุนเพื่อสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เป็นเกณฑ์ โดยสหประชาติได้แบ่งกลุ่มประเทศต่าง ๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม เรียงตามลำดับความสามารถในการพัฒนาประเทศโดยใช้เทคโนโลยี หรืออีกนัยหนึ่งการพัฒนาบนฐานความรู้ กล่าวคือ

- กลุ่มผู้นำ (leaders) ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นประเทศมหาอำนาจแลประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของตนเอง มีผลงานในการสร้าง การกระจาย และทักษะที่ดีทางเทคโนโลยี

- กลุ่มที่มีศักยภาพเป็นผู้นำ (potential leaders) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าและกำลังพัฒนาศักยภาพผู้นำในอนาคต ส่วนใหญ่มีการลงทุนในการพัฒนาทักษะกำลังคน และมีการกระจายเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วอย่างกว้างขวาง แต่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ไม่มากนัก ประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ มีทักษะแรงงานใกล้เคียงกับกลุ่มผู้นำ

- กลุ่มผู้ตามที่มีพลวัต (dynamic adopters) เป็นกลุ่มประเทศที่มีความแข็งขันในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ แม้จะมีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง แต่การแพร่กระจายเทคโนโลยีเก่าก็ยังช้าและไม่สมบูรณ์

- กลุ่มด้อยศักยภาพ (marginalized) ประกอบด้วยประเทศซึ่งยังต้องกระจายเทคโนโลยีและพัฒนาฝีมือแรงงานอีกมาก ประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากเทคโนโลยีเก่าเท่าใดนักในปี พ.ศ. 2544 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 40 จาก 72 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับ และจัดอยู่ในประเทศต้น ๆ ของกลุ่มประเทศที่ 3 หรือกลุ่มตามที่มีพลวัตในอีก 10 ปีข้างหน้า คือในปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยจะมีพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำสังคมไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้เพียงพอที่จะทำให้ประเทศไทยอยู่ในลำดับต้น ๆ ของกลุ่มที่สอง หรือกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นำนั่นเอง

2. สำหรับเป้าหมายของนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศประการที่สอง คือ การพัฒนาแรงงานความรู้ ซึ่งปัจจุบันการประมวลสถิติโดยใช้เกณฑ์ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ที่จัดประเภทแรงงานความรู้ตามลักษณะของสายอาชีพ บุคลากรกลุ่มนี้ใช้ความรู้ในการทำงานเป็นหลัก หรือต้องใช้ความรู้เฉพาะ ซึ่งพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีแรงงานความรู้ในสัดส่วนร้อยละ 30 ของแรงงานทั้งหมดขึ้นไป ในขณะที่ประเทศแถบละตินอเมริกาและเอเชีย กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนามีสัดส่วนของแรงงานความรู้ระหว่างร้อยละ 10 -20 ของแรงงานทั้งหมดในปี พ.ศ. 2544 ประเทศไทยมีแรงงานความรู้ประมาณร้อยละ 12 ของแรงงานทั้งหมด เป้าหมายของนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ในปี พ.ศ. 2553 คือมีจำนวนแรงงานความรู้ร้อยละ 30 ของแรงงานในประเทศทั้งหมด ซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยของจำนวนแรงงานความรู้ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD) ในปี พ.ศ. 2544

3. เป้าหมายที่สามของนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศพิจารณาจากปริมาณกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้เป็นพื้นฐานที่เรียกว่า knowledge -based industries หรือ knowledge - intensive industries องค์กรความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือ OECD ได้จัดประเภทของอุตสาหกรรมบนพื้นฐานแห่งความรู้ให้รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง อุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับกลางค่อนไปทางสูง การให้บริการชุมชน สังคม และส่วนบุคคล การให้บริการทางการเงินและธุรกิจ รวมทั้งการให้บริการด้านสื่อสาร ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถนำมาคำนวณหาสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) บัญชีประชาชาติ และตาราง input และ output ระดับประเทศได้จากนิยามดังกล่าว OECD พบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้ในปี พ.ศ. 2553 คือ มีสัดส่วนของอุตสาหกรรมบนฐานความรู้ร้อยละ 50 ของ GDP ซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยของ OECD ในปีปัจจุบันอย่างไรก็ตาม การตั้งเป้าหมายทั้งสามประการเป็นการชี้วัดเชิงเปรียบเทียบในระดับมหภาค ปัจจัยและตัวแปรในรายละเอียดอาจต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพและความต้องการในการพัฒนาที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยเองโดยยึดถือเป้าหมายและขบวนการพัฒนาที่เป็นจริง และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม




1 ความคิดเห็น:

  1. บล๊อกมีความสวยงามดี มีวีดีโอที่สอดคล้องกับหน่วยเรียนดี
    สำหรับหัวบล๊อกมีภาพที่เข้ากับเนื้อหาได้ดีเช่นเดียวกัน
    แต่ตัวหนังสือควรเพิ่มเติมสีให้แบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ดีกว่านี้จะอ่านง่ายกว่าเดิม

    ตอบลบ